วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หาความหมายของคำศัพท์


Widget
พูดถึง Widget หลายคนคงรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สำหรับใครที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินเลยนั้น เชิญทางนี้คะ วันนี้เรามีคำตอบมาให้……
 Widget (วิจิทคือ ชุดคำสั่งโปรแกรมขนาดเล็ก หรือโปรแกรมสำหรับการควบคุมในการทำงานที่สร้างจากโปรแกรมแฟลช หรือจาวาสคริปต์ ช่วยรองรับการทำงานของอินเตอร์เฟสกับแอพพลิเคชั่นหรือระบบปฏิบัติการ Widget ที่พบกันบ่อยๆ เช่น ปุ่ม ไอคอน และแถบเมนู Widget ถูกนำไปติดไว้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์รวมถึงบล็อคและมือถือด้วย    อย่างล่าสุดที่ทีดับบลิวแซดได้ออกมือถือรุ่นใหม่ TWZ-TD8 ที่มีฟังก์ชั่น Widget นี้อยู่ด้วย หากสงสัยว่า เจ้า Widget นี้ทำงานอย่างไรบนมือถือ ลองมาดูกันคะ
 ในวงการโทรศัพท์มือถือ Widget ถือเป็นน้องใหม่ ที่เพิ่มสีสันและลูกเล่นในการใช้งานมือถือมากขึ้นโทรศัพท์มือถือโดยทั่วไป ผู้ใช้ต้องทำการเลือก Widget ที่ตัวเองต้องการและสมัครสมาชิกบนเว็บ จากนั้นโหลดโปรแกรมของผู้ให้บริการ Mobile Widget ลงเครื่อง และล็อกอินถึงจะใช้งาน Widget ที่ตัวเองเลือกไว้ได้   แต่สำหรับ TWZ-TD8 ถูกผลิตขึ้นพร้อมซอฟแวร์ตัว Widget ในตัว เพียงคุณเลือกเมนูที่ต้องการแล้วลากออกมาจากแถบเมนู แค่นี้คุณก็สามารถใช้งานได้แล้ว 

Gadget

                แกดเจ็ต มีสองความหมายด้วยกัน คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เสริมขนาดเล็กที่ช่วยให้ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนชอตคัต เช่น การบอกเวลาจากนาฬิกา การติดตามข่าวสาร ฟังวิทยุ หรือตรวจสอบราคาหุ้น โดยแกดเจ็ตจะช่วยย่นเวลาในการเปิดเบราว์เซอร์เพื่อเรียกดูข้อมูลทีละรายการเปลี่ยนเป็นการนำข้อมูลดังกล่าวมาไว้บนเดสต์ทอป    ในอีกความหมายถึง แกดเจ็ต คือ อุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ที่นำมาใช้กับโน้ตบุ๊กหรืออาจจะหมายถึงของเล่นไฮเทคที่มีความล้ำยุค




Mashups
                “Mashups” เว็บไซด์ที่รวบรวมเนื้อหาหรือบริการจากหลายๆที่เข้าไว้ด้วยกันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเว็บตอนนี้ก็เป็นเหมือนกับการเติบโตจากเด็กเป็นวัยรุ่น เทคโนโลยีของเว็บบกำลังก้าวไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น พวกเราใช้เวลามากมายไปกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตอ่านเอกสารหรือดาวโหลดทุกๆอย่างที่พวกเราได้เจอมันอีกทั้งทุกๆวันเรายังได้เสนอตัวเองให้เป็นที่รู้จักต่อคนอื่นๆ  โดยการแสดงความคิดเห็นในกระดานข่าว สังคมออนไลน์  แบ่งปันรูปภาพ และคลิปวีดีโอ ให้ความช่วยเหลือต่างๆทั้งทางตัวอักษร เสียงและวีดีโอ หรือแม้กระทั่งเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับโลกทั้งโลกได้รับรู้                โปรแกรมประยุกต์ใช้งานทั่วไปที่ทำงานบนเว็บเบราเซอร์  สามารถทำงานได้เร็วเกือบเทียบเท่ากับโปรแกรมที่ติดตั้งลงบนเครื่อง PC ต้องขอขอบคุณเครื่องมือการเขียนโปรแกรมใหม่ๆที่ได้รวมเอาเทคโนโลยีของเว็บบในขณะนี้เอาไว้ด้วยกัน เช่น  AJAX(Asynchronous JavaScript and XML) และ Ruby on Rails    ด้วยการใช้งานเทคโนโลยีของ Java ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆทำให้เราสามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆบนเครื่อง PC ฝั่ง Client หรือฝั่งของผู้ใช้ได้   นั่นหมายความว่าจำนวนข้อมูลที่จะถูกส่งและรับจาก Web Server จะลดลงมาก และโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเบราเซอร์ทั่วไปก็จะสามารถทำงานร่วมกับเว็บไซด์ต่างๆได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
                การเปลี่ยนแปลงจากการรอรับข้อมูลอย่างเดียวไปเป็นการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และเว็บเพจนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเทคโนโลยีเว็บ  ผู้ใช้สามารถส่งไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เอกสาร และ ไฟล์ประเภทอื่นๆ ขึ้นไปที่ Blog ของตัวเองหรือทำการส่งเนื้อหาของเวบโดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “news feed”
หลายๆเว็บไซด์อณุญาตให้ผู้ใช้เพิ่ม keyword หรือ “Tag”(เปรียบเสมือนป้ายชื่อที่คอยบอกประเภทของไฟล์นั้น) ให้กับ ไฟล์รูปภาพ , วีดีโอ และไฟล์อื่นๆของเรา ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้อาจจะอยากใส่คำว่า “Barcelona” และ “water balloons” ให้กับรูปภาพในวัน soggy day ที่ประเทศสเปน  ไฟล์ที่ได้รับการตั้งชื่อแล้วเหล่านี้จะสามารถรวมกับเนื้อหาต่างๆจากผู้อื่นที่ส่งเรื่องที่เนื้อหาใกล้เคียงกันได้  ทั้งยังสามารถยินยอมให้ผู้อ่านทั้งที่เป็นสาธารณะหรือส่วนตัว   สามารถทำการค้นหารวมกลุ่มหรือตัดบางส่วนเกี่ยวกับเนื้อหาของผู้ที่ส่งเรื่องเข้ามาต่างๆ   โดยธรรมชาติแล้ว Tag ต่างๆเหล่านี้ยังช่วยให้เราสามารถค้นหา เรื่องที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตลก เรื่องความสวยความงามหรือเรื่องอื่นๆ  โดยไม่จำเป็นต้องไปขุดค้นจาก Search Engine ทั่วไปด้วยความยากลำบาก
RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
สังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย คำอธิบาย: http://www.bangkokbiznews.com/xml_kt/rsshelp/images/xml.gif หรือ คำอธิบาย: http://www.bangkokbiznews.com/xml_kt/rsshelp/images/rss.gif ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณเมนูหลักของเว็บ หรือบริเวณส่วนล่างของหน้าเว็บเพจ
                Google , Amazon, Facebook และ เว็บไซด์ใหญ่ๆหลายแห่งมีบริการให้ผู้ใช้ที่มีข้อมูลตรงกับข้อมูลต่างๆของทางเว็บไซด์  สามารถสร้างบริการของตัวเองขึ้นมาได้ เช่น Google มีการแจกจ่ายอินเตอร์เฟสต่างๆสำหรับการเขียนโปรแกรมประยุกต์เพื่อเรียกใช้งานข้อมูลจาก Google Maps และบริการอื่นๆที่เกี่ยวกับแผนที่ ตัวอย่างเช่น เว็บไซด์ที่เปิดบริการเป็น “Mashups” (เว็บไซด์ที่รวบรวมเนื้อหาจากหลายๆที่เข้าไว้ด้วยกัน)อย่างเช่น trulia.com ที่ได้ร่วมมือกับโปรแกรมแผนที่ของ Google ร่วมกับข้อมูลการค้นหาสถานที่ต่างๆเพื่อให้บริการค้นหาข้อมูลพื้นที่ที่มีการขายบ้าน


RSS

ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มี การแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
ข้อดีของ RSS 
                จุดเด่นของ RSS คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
                รู้ได้อย่างไรว่าเว็บไหนมีบริการ RSS



XML

                ย่อมาจาก Extensible Markup Language ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นสิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต
                XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML) , RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML) , XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน
Xml เป็นภาษาที่ใช้เน้น (มาร์กอัป) ส่วนที่เป็นข้อมูล โดยสามารถกำหนดชื่อแท็ก (Element) และชื่อแอตทิบิวต์ ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร xml โดยเอกสารนั้นจะต้องมีความเป็น Well-formed ส่วน DTD และ Schema จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่ามีผู้ใช้เอกสารนั้นมากน้อยแค่ไหน เอกสาร xml จึงเป็นแค่เท็กซ์ไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่มีแท็กเปิดและเท็กปิดครอบข้อมูลไว้ตรงกลางเท่านั้น ทำให้เอกสาร xml ถูกใช้ในการติดต่อกับระบบที่ต่างกัน เนื่องจากความง่ายในการสร้างเอกสาร การนำเอกสาร xml ไปใช้งาน จะสนใจแต่ข้อมูลที่ถูกเน้นด้วยแท็กมากกว่า
Well-formed เป็นไวยากรณ์พื้นฐานของเอกสาร xml อย่างเช่น เอกสาร xml ต้องเริ่มต้นด้วย <?xml version="1.0" ?> เอกสาร xml 1 เอกสาร จะต้องมีแท็กรูทเพียงแท็กเดียว หมายความว่า แท็กและข้อมูลต่างๆ จะต้องอยู่ภายในแท็กแรกสุดเพียงแท็กเดียว การเปิดและปิดแท็กจะต้องไม่มีการคร่อมกัน เช่น <b>ตัวหนา<i>และ</b>เอียง</i> จะไม่ Well-formed
เนื่องจากเอกสาร xml สามารถกำหนดชื่อแท็ก และชื่อแอตทิบิวต์ได้ตามความต้องการของผู้สร้างเอกสาร ทำให้ในการเน้นข้อมูลใดข้อมูลหนึ่ง สามารถมีเอกสาร xml หลายรูปแบบ (ผู้เขียนอาจใช้ชื่อแท็กต่างกัน ทั้งที่สื่อความหมายไปที่สิ่งเดียวกัน) หากว่าเอกสาร xml นั้น ถูกนำไปใช้ติดต่อกับระบบอื่นๆ อาจทำให้สื่อความหมายไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานขึ้น (ตกลงรูปแบบระหว่างกัน) โดย DTD และ Schema จะเป็นตัวกำหนดว่าเอกสาร xml นั้น จะต้องมีแท็กอะไรบ้าง ภายในแท็กนั้นจะมีแท็ก แอตทิบิวต์ หรือข้อมูลอะไรได้บ้าง โดย DTD จะต่างกับ Schema ตรงที่ Schema เป็นเอกสาร xml ด้วย

Artificial Intelligence

                Artificial Intelligence (AI) หมายถึงอุปกรณ์ที่ต้องรับคำสั่งเพื่อสามารถทำงานให้ได้อย่างรวดเร็วภายใต้หน่วยความจำที่มีขนาดใหญ่ หรือหมายถึงการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้เรียนรู้ได้ทำงานได้เหมือนสมอมนุษย์ ซึ่งการทำงานมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการประมวลผลของสองมนุษย์ฉะนั้นความสามารถของคอมพิวเตอร์ทางด้านสติปัญญาและด้านพฤติกรรมจึงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์
                สิ่งที่สำคัญทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีสองประการคือ
1. ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ
2. ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้นความหมายของปัญญาประดิษฐ์ จึงหมายถึงความสามารถของระบบการทำงานคล้ายคลึงกับสติปัญญาของมนุษย์จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์
                วิวัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์(Evolution of AI) ได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่1950โดยมีลักษณะเป็นตัวประมวลผลโปรแกรมการใช้งานซึ่งทำงานภายใต้สัญลักษณ์และเครื่องหมายมากกว่าเรื่องของตัวเลข
                ปัญญาประดิษฐ์ พัฒนามาจากหลายสาขาวิชาประกอบด้วย
                1. สาขาวิชาคริตศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้านเกมส์ต่างๆเช่นการเล่นOXหมากรุกฝรั่ง
                2. สาขาจิตรวิทยาในเรื่องการฟังและการวิเคราะห์ปัญหาทางจิตซึ่งการพัฒนาสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นโดนผ่านผู้เชี่ยวชาญ  โปรแกรมหมากรุกฝรั่งในช่วงแรกๆเป็นโปรแกรมที่ได้มาจากการใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการทำงานโดยการคำนวณผลกระทบของการเดินแต่ละครั้งเพื่อจะได้รู้ว่าวิธีการเดินแบบไหนจึงจะดีที่สุด  ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เป็นวิธีการเล่นของมนุษย์เพราะวิธีการเดินแต่ละก้าวของมนุษย์ล้วนมาจากประสบการณ์และกฎเกณฑ์การปฏิบัติฉะนั้นถ้าโปรแกรมหมากรุกอาศัยการทำงานแบบกฎเกณฑ์ด้านการปฏิบัติก็หมายถึงเทคนิคด้านการประดิษฐ์
                ลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์
1. Cognitive Science งาน ด้านนี้เน้นงานวิจัยเพื่อศึกษาว่าสมองของมนุษย์ทำงานอย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้อย่างไร จึงมีพื้นฐานที่การประมวลผลสารสนเทศในรูปแบบของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ระบบเครือข่ายนิวรอน (Neural Network)
ระบบแบ๊บแน็ต (Papnet)
ฟัสซี่โลจิก (Fuzzy Logic)
เจนเนติกอัลกอริทึม (Genetic Algorithm)
เอเยนต์ชาญฉลาด (Intelligent Agents)
ระบบการเรียนรู้ (Learning Systems)
2. Roboics พื้นฐานของวิศวกรรมและสรีรศาสตร์ เป็นการพยายามสร้างหุ่นยนต็ไห้มีความฉลาดและถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ สามารถเครื่องไหวได้เหมือนกับมนุษย์
3. Natural Interface งาน ด้านนี้ได้ชื่อว่าเป็นงานหลักที่สำคัญที่สุดของปัญญาประดิษฐ์ และพัฒนาบนพื้นฐานของภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และวิทยาการคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยงานด้านต่างๆ
ระบบที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ (Natural Language)
ระบบภาพเสมือนจริง (Virtual Reality)
ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบผสมผสาน (Hybrid AI Systems)


Phishing

                คือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงค์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง phishing แผลงมาจากคำว่า fishing แปลว่าการตกปลา ซึ่งมีความหมายถึง การปล่อยให้ปลามากินเหยื่อที่ล่อไว้
การร้องขอเปลี่ยน password ให้เราเปลี่ยน password เพราะว่า password เราเก่าแล้วควรจะเปลี่ยนได้แล้ว แต่ว่าหน้าเว็บทำเป็นหน้าหลอก(ไม่ใช่เว็บจริง) เช่นว่าเว็บจริงเป็น hotmail.com/newpassword แต่ว่าเว็บหลอกใช้ เป็น hotmail.com.newpassword2.ly/ คือพยายามทำให้ url ของตัวเองคล้ายกับเว็บจริงด้ว

ที่มา http://comerror.com/phishing.html

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

t-test

การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test
วันนี้ได้รวบรวมข้อความรู้เกี่ยวกับการใช้สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่นิยมใช้ในการวิจัย ที่เปรียบเทียบความแตกต่างของประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง ในตอนแรกจะเสนอเนื้อหาการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ด้วยสถิติ t-test ซึ่งมี 2 แบบ คือ t-test  แบบ Independent และ t-test  แบบ Dependent  ซึ่งมีวิธีการเลือกใช้และข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้แตกต่างกัน  ส่วนเนื้อหาตอนหลังมีสรุปเกี่ยวกับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างที่ใช้กันบางตัว เช่น F-test   ANOVA เป็นต้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ค่ะ
  การทดสอบที (t-test)  เป็นเทคนิคการทดสอบสมมติฐานชนิดหนึ่งที่นักวิจัยนิยมใช้การทดสอบ โดยวิธีการนี้ใช้ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อย (n<30) ผู้ที่ค้นพบการแจกแจงของ t มีชื่อว่า W.S.Gosset เขียนผลงานชิ้นนี้ออกเผยแพร่โดยใช้นามปากกาว่า “student” ให้ความรู้ใหม่ว่า ถ้าข้อมูลมีจำนวนน้อย การแจกแจงจะไม่เป็นโค้งปกติตามทฤษฎี   ต่อมาการแจกแจงใหม่นี้มีชื่อว่า Student  t-distribution และเรียกกันเวลาใช้ทดสอบโดยคุณสมบัติการแจกแจงนี้ว่า t-test(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2540, หน้า 240) สถิติทดสอบ t ใช้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้ได้กับกรณีที่มีประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม (อรุณี  อ่อนสวัสดิ์, 2551 หน้า 185)

การใช้ t-test  แบบ Independent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ข้อมูลที่รวบรวมได้อยู่ในระดับ อันตรภาคหรืออัตราส่วน  ใช้สถิติการทดสอบค่า t  มีชื่อเฉพาะว่า  t-test  for Independent Samples สถิติตัวนี้ใช้มากทั้งในการวิจัยเชิงเปรียบเทียบและการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมี 2 กรณี (ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 86)
 ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน(Two Independent Samples)
t-test (Independent)
1.                                    กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สัมพันธ์กัน(เป็นอิสระต่อกัน)
2.                                    ค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3.                                    กลุ่มตัวอย่างได้มาอย่างสุ่มจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4.                                    ไม่ทราบความแปรปรวนของแต่ละประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 58)
 การใช้ t- test แบบ dependent
เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย( )ระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน และกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ได้แก่ สถิติการทดสอบค่า t  มีชื่อเฉพาะ ว่า  t-test  for dependent Samples ซึ่งมักพบในการวิจัยเชิงทดลองที่ต้องการเปรียบเทียบผลระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองหรือเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่ได้จากการจับคู่(ชูศรี วงศ์รัตนะ, 2549, หน้า 87)
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2540, หน้า 240) กล่าวว่า ข้อมูลที่เรียกว่า คู่(pair observation) นั้นมีหลายประเภท แต่คุณสมบัติสำคัญจะต้องเกี่ยวข้องกัน (Dependent Sample)มีข้อมูลอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ
ประเภทแรก คือ ข้อมูลที่สอบหรือวัดจากคนเดียวกัน 2 ครั้ง
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบ t-test (Mean One Sample Test)  กรณีมีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม(One Sample)
1.                                    ข้อมูลอยู่ในมาตรอันตรภาค(Interval Scale) หรือมาตราอัตราส่วน(Ratio Scale)
2.                                    กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มได้จากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
3.                                    ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
4.                                    ไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 55)
ประเภทที่สอง เป็นประเภทคุณลักษณะของตัวอย่างที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดเลือกมาเป็นคู่ๆ(math-pairs) เช่น เด็กฝาแฝด  สามีภรรยา  เชาว์ปัญญาเท่ากัน รสนิยมเดียวกัน เป็นต้น  ตอนเลือกมาจะเป็นคู่ๆ แต่ตอนทำการทดลอง หรือศึกษาจะต้องสุ่มอีกครั้ง การทดสอบความแตกต่างจะใช้  t- dependent
ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน(Two Related-Samples)
t-test (Dependent or Matched Pair Sample)
1.                                    ข้อมูล 2 ชุดได้มาจากลุ่มตัวอย่างเดียวกัน หรือมาจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม สัมพันธ์กัน
2.                                    ค่าของตัวแปรตามแต่ละหน่วยเป็นอิสระต่อกัน
3.                                    กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มมาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ
4.                                    ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 56-57)
 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 381) สรุปไว้ว่า สถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มเดียว มี 2 ตัว คือ  Z-test  กับ  t-test
Z-test  ใช้ในกรณีที่ ทราบความแปรปรวนของประชากร(µ) ถ้าไม่ทราบจะใช้ t-test  แต่มีตำราหรือนักสถิตหลายท่าน เสนอว่า หากไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรถ้ามีตัวอย่างขนาดเล็ก น้อยกว่า 30 ให้ใช้ t-test   แต่ถ้ามีขนาดใหญ่ คือ มากกว่า 30 จะใช้ Z-test  ก็ได้เป็นการใช้เพื่ออนุโลมกัน มิใช่ว่าจะใช้แทนกันได้เลย เพราะว่า ค่าวิกฤติของ t-test   ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ ส่วนของ Z-test  ไม่ขึ้นอยู่กับชั้นความเป็นอิสระ จากตารางการแจกแจงแบบ t จะเห็นว่า เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเพิ่มขึ้น ค่า t จะใกล้เคียงกับค่า Z และเกือบจะเท่ากัน เมื่อชั้นของความเป็นอิสระเท่ากับ 120 เป็นต้นไป ฉะนั้น ถ้าไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร จะใช้ Z-test  แทน t-test  
            สิทธิ์  ธีรสรณ์(2552, หน้า 152-153) สรุปไว้ว่า ในกรณีที่เป็นสถิติอิงพารามิเตอร์ ถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนสองกลุ่ม ก็ใช้ t-test   ซึ่งแบ่งเป็น  t-test   for  Independent  Means สำหรับการเปรียบเทียบสองกลุ่ม ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนกลุ่มเดียวกัน ก็ใช้  t-test   for  Dependent  Means  ส่วนถ้าเป็นการเปรียบเทียบคนมากกว่าสองกลุ่ม ก็ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(Analysis of Variance หรือ ANOVA) 



การวิเคราะห์ความแตกต่าง(Analysis Of differences) กรณีประชากรสองกลุ่ม
นงลักษณ์ วิรัชชัย(2552, หน้า 5) สรุปไว้ว่า สถิติอนุมานเบื้องต้นใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยอาจเปรียบเทียบได้ทั้งค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน สัดส่วน สหสัมพันธ์  สถิติที่ใช้แตกต่างกันตามลักษณะข้อมูล  เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ รู้ความแปรปรวนของประชากรใช้ Z-test  เมื่อมีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กใช้ t-test  ซึ่งมีสูตรการคำนวณแยกตามลักษณะความแปรปรวนของกลุ่มประชากรว่ามีขนาดเท่ากัน หรือไม่เท่ากัน และลักษณะของกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระหรือไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความแปรปรวนสองกลุ่มใช้ F-test  การวิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนระหว่างกลุ่มใช้ Z-test และการวิเคราะห์ความแตกต่างของสหสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มใช้ Z-test หรือ X 2
 สถิติที่ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตามจำนวนกลุ่มและระดับการวัดมาตราอัตราส่วน(ค่าเฉลี่ย,S2)
จำนวนกลุ่ม
 สถิตที่ใช้ทดสอบ
กลุ่มเดียว
- ขนาด น้อยกว่า 30
t-test
- ขนาด มากกว่า 30
Z-test
สองกลุ่ม
-2 กลุ่มไม่เป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มน้อยกว่า 30
 Paired t-test
t-test แบบ Dependent
-2 กลุ่มเป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มน้อยกว่า 30
t-test แบบ Independent
-2 กลุ่ม เป็นอิสระกัน ขนาดกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 30
Z-test
มากกว่า 2 กลุ่ม
-มากกว่า 2 กลุ่มอิสระกัน
One Way ANOVA
-มากกว่าสองกลุ่มสัมพันธ์กัน
One Way ANOVA
Repeated measure(แบบการวัดซ้ำ)
ที่มา  เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย(2540, หน้า 44-45)
ปัญหาการเลือกใช้สถิติ
1. ผู้วิจัยเน้นการวิเคราะห์เฉพาะส่วนย่อย ทำให้ขาดผลการวิเคราะห์ในลักษณะภาพรวม เช่น การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประชากรเป็นรายคู่ทีละคู่โดยใช้  t-test แทนที่น่าจะใช้วิธีการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างประชากรหลายๆกลุ่มพร้อมกันไป โดย F-test
2. เลือกใช้สถิติที่ฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้น  เช่น การใช้ Z-test  โดยไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร(Population variance)  การใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA) ของข้อมูลที่วัดเป็นความถี่  เป็นต้น
(ศิริชัย  กาญจนวาสี,ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข(2551, หน้า 59,60)
 เอกสารอ้างอิง
เทียมจันทร์  พานิชย์ผลินไชย.(2540). สถิติเพื่อการวิจัย, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม สิงหาคม 2540, หน้า 32-46)
นงลักษณ์  วิรัชชัย. (2552).  “ความสัมพันธ์ระหว่างสถิติกับการวิจัย. สักทอง : วารสารการวิจัย. ปีที่15 ฉบับที่ 1/2552 มกราคม-มิถุนายน 2552. หน้า 1-13.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9) กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2540). สถิติวิทยาทางการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาควิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ศิริชัย  กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และดิเรก  ศรีสุโข (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิ์  ธีรสรณ์.  (2552). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย.  (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก : ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/399528